วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณะของภาพทิวทัศน์

ภาพทิวทัศน์แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ
        ๑. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น   ท้องฟ้า ท้องนา   ป่าเขา ห้วยหนอง คลองบึง น้ำตก ฯลฯ
              
           ๒. ภาพทิวทัศน์ทะเล(Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล
     ๓.ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น   เช่น   วัด โบสถ์   วิหาร ตึก อาคาร ฯลฯ

                                                 
เรื่องการวาดภาพทิวทัศน์ ความหมายและลักษณะของภาพทิวทัศน์    ทิวทัศน์ มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕  ว่าลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเลซึ่งเรียกภาพเขียนหรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์    การวาดภาพทิวทัศน์   หมายถึง      การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วน ๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า ภาพภูมิทัศน์     การวาดภาพทิวทัศน์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนียภาพ (Perspective) ให้ดีเสียก่อน   จึงจะถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง
                หลักการทัศนียภาพ (Perspective) คือการวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ในภาพ มีหลักในการวาด คือ
  “สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลตาจะมีขนาดเล็ก